วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่3วิธีการดำเนินการ


บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกเผากากหมู  กลุ่มผู้ศึกษา ได้กำหนดขั้นตอนในการศึกษาดังนี้
1.   ขั้นเตรียมการ
                1.1  จัดทำข้อสอบก่อนเรียน 20 ข้อ
                1.2  ศึกษาและเรียนรู้ในรายวิชาที่ครูผู้สอนได้ร่วมจัดทำหน่วยบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระ
                1.3  รวมกลุ่มกันจัดทำโครงงานบูรณาการ ในหน่วยการเรียนรู้ น้ำพริกสารพัดนึก โดยมีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่ม 11 คน ประกอบด้วย
                1.   นายศรณรงค์                 เข็มทองหลาง       ชั้น ม.4/1              เลขที่ 8
                2.   นายชนะชัย                  เติบกลาง               ชั้น ม.4/1              เลขที่ 10
                3.   นางสาวกัญญรัตน์       เขยกลาง                ชั้น ม.4/1              เลขที่ 17
                4.   นางสาวกัญญารัตน์     ปักกลาง                 ชั้น ม.4/1              เลขที่ 18
                5.   นางสาวจุฑาทิพย์         ตลับกลาง              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 22
                6.   นางสาชุติกาญจน์        ไชยะราช              ชั้น ม.4/1              เลขที่ 27
                7.   นางสาวนนทรี             ชัยยะ                      ชั้น ม.4/1              เลขที่ 29
                8.   นางสาวนัฐศิตา            บัวโค้ง                   ชั้น ม.4/1              เลขที่ 31
                9.   นางสาวปรารถนา        ขอผลกลาง            ชั้น ม.4/1              เลขที่ 32
                10.   นางสาวพรสินี           โสพล                     ชั้น ม.4/1              เลขที่ 34
                11.   นางสาวเสาวลักษณ์  ตรีกลาง                 ชั้น ม.4/1              เลขที่ 34

                1.4 ตั้งชื่อโครงงาน เรื่อง น้ำพริกเผากากหมู

2.   ขั้นตอนดำเนินการ
                2.1  สำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  เกี่ยวกับ
น้ำพริกเผากากหมู
                2.2  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำพริกเผากากหมู
                2.3  ฝึกปฏิบัติ/บันทึกข้อมูล/ถ่ายภาพเกี่ยวกับ/น้ำพริกเผากากหมู
                2.4  ประเมินความพึงพอใจ
                2.5  นำข้อมูลมาเขียนรายงาน 5 บท และนำเสนอโครงงาน
3.  ขั้นตอนการประเมินผล
                3.1   นักเรียนร่วมกันประเมินผลด้านกระบวนการทำงาน (Process) 5 คะแนน
                3.2   ผู้ปกครองร่วมกันประเมิน ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Attitude)   5 คะแนน
                3.3   ครูประเมินผลด้านความรู้   (Knowledge)  10 คะแนน
                ในวันประเมินผลด้านความรู้ นักเรียนได้นำมาเสนอด้วยวาจาและในรูปของรายงาน 5 บท, แผงโครงงาน แผ่นพับ และ ชิ้นงาน                                               



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                การศึกษาเกี่ยวกับ น้ำพริกเผากากหมู  กลุ่มผู้ศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานดังนี้ โดยมีข้อมูลที่ครูสอนในวิชาที่บูรณาการจำนวน 8 วิชา  โดยสรุปดังนี้

1. วิชาคณิตศาสตร์
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาคณิตศาสตร์ ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง เซต (Sets) มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
ในวิชาคณิตศาสตร์ ใช้คำว่า “เซต” ในการกล่วถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆและเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น
เซตของชื่อวันในสัปดาห์
เซตของคำตอบของสมการ x2 – 4 = 0
เซตของส่วนผสมของน้ำพริกเผากากหมู
เรียก สิ่งที่อยู่ในเซต ว่า สมาชิก (Elements) เช่น
เซตของชื่อวันในสัปดาห์ มีสมาชิกได้แก่ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
เซตของคำตอบของสมการ  x2 – 4 = 0 มีสมาชิกได้แก่ -2 และ 2
เซตของส่วนผสมของน้ำพริกเผากากหมู มีสมาชิกได้แก่ กากหมูเจียวใหม่ๆ พริกขี้หนูแห้งคั่ว หอมแดงเผา กระเทียมเผา น้ำมะขามเปียก น้ำมันหมู น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย และเกลือป่น หรือ {x|xเป็นส่วนผสมของน้ำพริกเผากากหมู}











2.   วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 3 สาขาวิชา ซึ่งแต่ละสาขาวิชาที่นำมาบูรณาการมีดังนี้
2.1)วิชาฟิสิกส์
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาฟิสิกส์ ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง ปริมาณทางฟิสิกส์ที่เป็นระบบหน่วยฐานระหว่างชาติที่ใช้กันทั่วโลก มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
ปริมาณทางฟิสิกส์  เป็นปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือโดยอ้อม  เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น  ปริมาตร  มวล  น้ำหนัก  ความเร็ว  ความดัน  แรง  กระแสไฟฟ้า  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  อุณหภูมิ  เป็นต้น  ปริมาณเหล่านี้จะต้องมีหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน
เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก  โดยเฉพาะในวงการทางวิทยาศาสตร์ องค์กรระหว่างชาติเพื่อการมาตรฐาน  ( ISO  : International  Organization  for  Standardization )  ได้กำหนดระบบหน่วยมาตรฐานที่เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ  หรือ ระบบเอสไอ(SI :Systeme  Internationale) ให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน
ส่วนผสมของน้ำพริกเผากากหมู


ส่วนผสม
ปริมาณ
กากหมูเจียวใหม่ๆ
500 กรัม
พริกขี้หนูแห้งคั่ว
50 กรัม
หอมแดงเผา
10 หัว
กระเทียมเผา
10 หัว
น้ำมะขามเปียก
20 กรัม
น้ำมันหมูหรือน้ำมันพืช
15 กรัม
น้ำปลา
15 กรัม
น้ำตาลปี๊บ
10 กรัม
น้ำตาลทราย
10 กรัม
เกลือป่น
10 กรัม


















2.2)วิชาชีววิทยา
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาชีววิทยา ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง สารอาหารที่อยู่ในน้ำพริก ข้อมูลทางพฤกษสาสตร์ และส่วนผสมต่างๆให้สารอาหารใด มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
พริก
เป็นพืชในตระกูล Solanaceae
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L.
ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน
ชนิดของพริก
พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง ประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่
1.             พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)
2.             พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่ม C. furtescens)
3.             การเพาะปลูก
4.             การเตรียมดิน
5.             ระหว่างไถพรวน ดินให้รองพื้นด้วยปูนขาว อัตรา 75 กก. ต่อไร่ และปุ๋ย ไบ.โอ.ฮิวมิค.พลัส. อัตรา 50กก. ต่อไร่ แล้วรดน้ำตาม หรือจะใช้ปุ๋ยดิน ทอง อัตรา 1 แกลลอน (5 ลิตร) ต่อ 1 ไร่ รองพื้น เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัด เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีอยู่ในดิน บ่ม ดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงยกร่องกว้าง 1 เมตร สูง 20 ซม. แล้วจึงคลุมผ้ายาง ทำการ เจาะรูผ้ายางให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม. ห่างกันประมาณ 50 ซม. เพื่อป้องกันกำจัด วัชพืชในแปลงพริก
6.             การเพาะกล้า
7.             ทำการแช่เมล็ดพริกโดย ใช้สารชีวภาพที่เร่งรากและใบ อัตรา 3-5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการงอกรากของเมล็ด เมล็ดพริกที่ใช้ปลูกให้แช่ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจาก นั้นนำเมล็ดพริกขึ้นจากน้ำ แล้วห่อด้วยผ้า ขาวบางชุบน้ำอีก 1 คืน จึงหว่านเมล็ดลงบน แปลงเพาะ เมื่อต้นกล้าแตกใบแรกหรือ ประมาณ 7 วันหลังหว่าน จึงย้ายมาเพาะต่อ ในถาดหลุมอีกประมาณ 25-30 วัน จึงย้าย กล้ามาปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้
8.             การย้ายกล้าลงแปลงปลูก
9.             ก่อนนำต้นกล้าลงแปลงปลูก ให้ใช้ปุ๋ย ไบ.โอ.ฮิวมัส.พลัส หรือปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม อัตรา 1 ช้อนแกง ต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน เพื่อป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่าแล้วรดน้ำตามทันที หรืออาจใช้ปุ๋ยดินทอง (ปุ๋ยชีวภาพ) อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรราดดินหรือคลุกเคล้ากับดิน เพื่อใช้ในการรองพื้นก่อนการปลูกพืช
10.      การบำรุงต้นและผล
11.      เพื่อกระตุ้นให้ต้น พริกเจริญเติบโตเร็ว ออกดอกสม่ำเสมอ ให้ผลดก ผลมีขนาดใหญ่ ไม่มีโรคแมลงมา รบกวน ให้ใช้ปุ๋ยทรีซิน อัตรา 50 ซีซี. + ทรี เท็คซีน อัตรา 30 กรัม (เพื่อป้องกันและกำจัด เชื้อรา) + ซิลเวอร์เอ๊กซ์ตร้า บี.96 อัตรา 30 ซีซี. (เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นพริก) และในช่วงออกดอกให้ใช้ซิลเวอร์เอ็กซ์ตร้า สูตรเดตาดอกแทน + ทรีสตาร์ 5 ซีซี. + เซฟตี้ คิล 50 ซีซี. (เพื่อป้องกันและกำจัดแมลง) + สารจับใบ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นพริก ทุกๆ 7 วัน ถ้ามีโรคและแมลงมารบกวน ให้ ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน และก่อนเก็บผลผลิต ประมาณ 1 สัปดาห์ให้ใช้วานาก้า 20 ซีซี. ฉีดรวมเข้าไปด้วย เพื่อทำให้พริกผลโต สี สวย ได้น้ำหนัก หรือเพื่อความสะดวกและ ประหยัดค่าใช้จ่าย อาจใช้ปุ๋ยชีวภาพปาณิ อัตรา 10 ซีซี.+ปุ๋ยปาณิแครป 10 ซีซี. + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นพริกเจริญ เติบโตออกดอกสม่ำเสมอ ให้ผลดก ผลมี ขนาดใหญ่ ไม่มีโรคแมลงรบกวน โดยฉีดพ่น ต้นพริก 7-10 วันต่อครั้ง แต่ถ้ามีโรคแมลงมารบกวน อาจฉีดพ่นทุก 3-5 วันและก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 สัปดาห์
12.      การใช้ปุ๋ย
13.      หลังย้ายต้นกล้าแล้ว 5 วัน อาจมีการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 อย่างละ 1 กก. ผสมน้ำ 20 ลิตร หยอดบริเวณโคนต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโต หลังจากนั้น 7 วัน หยอดปุ๋ยซ้ำอีกครั้ง โดยเพิ่ม ปริมาณปุ๋ยอีกอย่างละ 1 กก. จนต้นพริกมี อายุ 30 วัน ให้ทำการฝังปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับ 13-21-0 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม โดยฝังให้ห่างโคนต้น 1 ฝ่ามือ เพื่อเร่งการ ออกดอก พอต้นพริกอายุได้ 45-50 วัน ให้ทำ การฝังปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อ หลุม เพื่อบำรุงเมล็ดพริก แต่ถ้าสมาชิกจะ หลีกเลี่ยงปุ๋ยสูตรดังกล่าว และหันมาใช้ปุ๋ย ชีวภาพที่มีขายในท้องตลาดเช่น ปุ๋ยปาณิ + ปุ๋ยปาณิแครป อัตรา อย่างละ 10 ซีซี. ฉีดพ่น ทุก 7-10 วันจนต้นพริกเก็บเกี่ยวผลผลิต
14.      การให้น้ำ
15.      ช่วงย้ายกล้าให้น้ำทุก ๆ 3 วัน จนต้นพริกมาอายุได้ 15 วัน จึงเปลี่ยนเป็น การให้น้ำสัปดาห์ 1 ครั้ง
16.      ปัญหาเรื่องโรคและแมลง
17.      มีการทำลายน้อยมาก ถ้ามีการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง ส่วนมากปัญหาที่พบคือ ยอดหงิก ซึ่งมีสาเหตุมาจากเพลี้ยไฟ ก็อาจ จะมีการป้องกันด้วยการถอนทำลายต้นทิ้ง หรืออาจมีการใช้สารเคมีบ้างในยามที่จำเป็น

สรรพคุณ

พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )
พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดย เฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค

การค้าและอุตสาหกรรม

สีของพริกมีหลากหลาย เขียว แดง เหลือง ส้ม ม่วง และสีงาช้าง โดยเฉพาะเมื่อนำมาปลูกในเขตร้อนชื้นที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน จะมีสี ( Colorant) ที่สดใส ซึ่งสามารถนำมาในอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งการปรุงแต่งรสชาติ และสีสัน ( colouring spice ) ได้ตามความต้องการของผู้บริโภคหลากหลายผลิตภัณฑ์
มีแนวโน้มในอนาคตว่าการผสมสีในอาหารจะมาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และพริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง บริโภคสดและแปรรูป หลายหลายชนิด ดังนั้นพริกจึงจัดได้เป็นพืชผัก ที่มีศักยภาพชนิดหนึ่ง
พฤติกรรมการบริโภคและความต้องการอาหาร ในชีวิตประจำวันของผู้คน ในปัจจุบันให้ความสนใจ ในอาหารทีมีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกาย สะอาด ปลอดภัยจากสิ่งตกค้างทั้งหลาย โดยเฉพาะสารเคมี กระแสความเรียกร้องสินค้าและพืชชนิดที่มีคุณภาพมีเพิ่มมากขึ้น ในตลาดที่สำคัญ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ได้ให้ความสำคัญมาตรฐานสินค้า การรับรองสินค้า การรับรองสินค้า การตรวจสอบแหล่งสินค้าที่มาของสินค้า ดังนั้น ในระบบการผลิตสินค้าเพื่อบริโภคจะต้องมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์คุณภาพเริ่มตั้แต่ แหล่งผลิตวัตถุดิบจนถึงมือ ผู้บริโภค ( From Farm to Table)
การผลิตพริกที่ดีจำเป็นจะต้องปรับระบบการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกที่เหมาะสมในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพและคุณประโยชน์ ใช้วิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชและลดต้นทุน มีการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพ ลดความเสียหาย และได้รูปลักษณ์ที่ดี ตรงตามมาตรฐานทั้งตลาดภายใน และต่างประเทศ ทั้งเพื่อการบริโภคสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พริกชนิดต่าง ๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องแกง พริกน้ำจิ้มต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
สารเคมีในพริก
ที่สำคัญคือ Capsaicin นอกจากนั้นยังมีสารอื่นๆที่ให้ความเผ็ดอีก คือ Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin ,และ Homocapsaicin
สาร Capsaicin นี้ ถูกค้นพบในรูปผลึกบริสุทธิ์โดย พี เอ บุชธอลซ์ ต่อมา แอล ที เทรชศึกษาสารนี้และให้ชื่อว่า Capsaicin มีสูตรทางเคมีคือ C18H27NO3 ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยทำให้ประสาทรับความรู้สึกไหม้ที่เนื้อเยื่อ กระตุ้นการผลิตเมือกออกมาป้องกันการระคายเคืองและกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยย พืชจำพวกพริกนี้จะผลิตสารนี้ออกมาเพื่อป้องกันการถูกบริโภคโดยสัตว์กินพืช โดยสารนี้จะพบในเนื้อเยื่อของผลพริก มากกว่าในเมล็ค นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าแมงมุมทาแรนทูลาก็มีพิษซึ่งมีส่วนประกอบด้วยเช่น กันของสารนี้เช่นกันสาร capsaicin บริสุทธิ์จะมีลักษณะเป็น คริสตัล หรือ ไขใสๆ ไม่มีกลิ่น และมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ
กลุ่มของสารเคมี Capsaicinoid ได้แก่
1.             Capsaicin
2.             Dihydrocapsaicin
3.             Nordihydrocapsaicin
4.             Homodihydrocapsaicin
5.             Homocapsaicin
โดยที่ Capsaicin จะพบในพริกมากที่สุด คือ 97% และให้รสเผ็ดมากที่สุด
นักเคมีชื่อ "วิลเบอร์ สโควิลล์" ได้ศึกษาปริมาณสาร capsaicin ในพริกแต่ละสายพันธุ์ จากทั่งโลก และใช้ข้อมูลนี้ จัดทำสเกลสโควิลล์ขึ้น ซึ่งเป็นสเกลซึ่งวัดความเผ็ดของพริกเมื่อเทียบกับสารcapsaicin บริสุทธิ์ แต่กรรมวิธีการตรวจสอบสาร Capsaicin ของ สโควิลล์ไม่เที่ยงตรงเนื่อจากเขาใช้การสกัดน้ำจากพริกชนิดนั้นๆมาแล้วให้ อาสาสมัคร 5 คนลองชิมแล้วให้ความเห็นว่าพริกนั้นเผ็ดประมาณระดับไหน ความไม่เที่ยงตรงนี้ทำให้มีผู้พัฒนาวิธีตรวจสอบสารนี้ในพริกใหม่ โดยให้ชื่อว่า high performance liquid chromatography ซึ่งเป็นการวัดความร้อนที่สารเคมีนี้ผลิตออกมา และนำไปคำนวณโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะได้สเกลแบบใหม่คือ ASTA pungency ยูนิต
สารสำคัญอีกอย่างที่มีอยู่ในพริกและมีประโยชน์ในด้านต้านมะเร็งคือ แคโรทีนอยด์ เราจะสามารถสังเกตได้เลยว่าผักผลไม้ใดมีสารนี้หรือไม่โดยดูจากสี เหลือง ส้ม และ แดง แคโรทีนอยด์นี้ก็คือรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน โดยมีการรวมตัวกับออกซิเจนทำให้เป็นแคโรทีนอยด์ ในพริกจะมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าแอลฟ่าแคโรทีน สารเบต้าแคโรทีนนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก กล่าวคือ เมื่อถูกย่อยในลำไส้เล็กแล้ว จะกลายเป็น เรตินอลซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ และจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับเพื่อนำไปใช้ในคราวจำเป็น เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดี นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ใน รูปแบบยาเม็ดอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพเป็นจำนวนมาก พวกเขาพบว่าการรับประทานเม็ดแคโรทีนสังเคราะห์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งปอด และมะเร็งอีกหลายชนิดมากขึ้น เนื่องจากในยาเม็ดสังเคราะห์จะมีปริมาณแคโรทีนอยด์มากเกินความจำเป็นต่อร่าง กาย แต่พวกเขายังไม่ได้ทำการวิจัยในสารแคโรทีนอยด์ธรรมชาติซึ่งมาจากพืช การรับประทานแคโรทีนอยด์มากไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน ถึงแม้จะเป็นแคโรทีนอยด์จากผักผลไม้ธรรมชาติสดๆ
การรับประทานแครอทหรือผักผลไม้ที่มีสารแคโรทีนอยด์มากเกินไป จะทำให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง ซึ่งเรียกว่า ภาวะ carotenemia นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่ภาวะที่ร่างกายมีวิตามินเอมากเกินไปด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย  สารสุดท้ายในพริกที่จะกล่าวถึงคือกรด ascorbic acid ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินซี C6H8O6 วิตามินซี ละลายน้ำได้ พบได้ทั่วไปในพืช และผลไม้ทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบในสัตว์หลายชนิดอีกด้วย เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เป็นตัวการร่วมในการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลในสัตว์ เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังและหลอดเลือด และช่วยในการขนส่งไขมันไปยังไมโทรคอนเดรียให้สันดาปอาหารได้เป็นพลังงาน
ในสมัยก่อน ยุคที่อังกฤษล่าอาณานิคม ลูกเรือที่เดินทางข้ามทวีปโดยใช้เวลาเป็นเดือน ๆ มักเป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน เจมส์ ลินด์ หมอของบริษัทการค้าอินเดียตะวันออกเป็นคนแรกที่สรุปว่าสารบางอย่างในผลไม้ จำพวกส้ม สามารถรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ อีกหลายร้อยปีต่อมา อัลเบิรต์ กอยจี้และทีมนักวิจัย สามารถแยกวิตามินซีบริสุทธิ์ได้ และตั้งชื่อมันว่ากรดแอสคอบิก
ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ชายคือ 90 มิลลิกรัม หญิงคือ 75 มิลลิกรัม ถ้าหากรับประทานเกินความจำเป็นของร่างกาย ทำให้ปวดท้อง และอาจทำให้ท้องเสียได้


2.3)วิชาเคมี
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาเคมี ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง ธาตุและสารประกอบที่พบในน้ำพริก (สารอาหาร) มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
ส่วนผสมของน้ำพริกเผากากหมู
               
 








วิธีการทำน้ำพริกเผากากหมู
1. โขลกพริกขี้หนูแดงแห้งคั่วให้ละเอียด ถ้าต้องการให้ละเอียดเร็วขึ้นให้ใส่เกลือโขลกพร้อมกัน
2. ใส่หอมเผา กระเทียมเผา โขลกให้เข้ากัน
3. ใส่กากหมูเจียวใหม่ๆ ลงโขลกรวมกันจนเข้ากันดี
4. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำมะขามเปียกหรือจะใส่น้ำมะนาวแทนก็ได้
5. นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันหมู ถ้ากลัวอ้วนใส่น้ำมันพืชแทน หรือไม่ใส่ก็ได้ เพราะในกากหมูก็มีน้ำมันอยู่แล้ว นำส่วนผสมทั้งหมดลงผัดให้หอม ชิมดู ให้เปรี้ยวนำเล็กน้อย 
6.รับประทานได้ทันที หรือเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิท เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือแมลงวัน

พริก
มีสารที่สำคัญคือ Capsaicin นอกจากนั้นยังมีสารอื่นๆที่ให้ความเผ็ดอีก คือ Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin ,และ Homocapsaicin  สูตรทางเคมีคือ C18H27NO3 และ
กรด ascorbic acid ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินซี C6H8O6 วิตามินซี ละลายน้ำได้ พบได้ทั่วไปในพืช และผลไม้ทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบในสัตว์หลายชนิดอีกด้วย เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เป็นตัวการร่วมในการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลในสัตว์ เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังและหลอดเลือด และช่วยในการขนส่งไขมันไปยังไมโทรคอนเดรียให้สันดาปอาหารได้เป็นพลังงาน

















3.   วิชาสังคมศึกษา
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น
ดังนั้นภูมิปัญญาไทย จึงหมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากมายหลายแขนง แต่มักจะถูกมองว่าล้าหลังคนบางกลุ่มจึงไม่ค่อยให้ความนิยมและสืบสานกันมากนัก ส่วนใหญ่แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นมักสืบทอดบอกกล่าวกันเป็นการภายใน เช่น สูตรทำอาหาร หรือตำรับตำราต่าง ๆ ทำให้ไม่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป อาจจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 10 ลักษณะได้ดังนี้
1.             ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา - ภูมิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
2.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม - เนื่องจากประเพณีและพิธีกรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในสังคม ภูมิปัญญาประเภทนี้จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมากดังจะเห็นได้จากประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในประเทศไทยล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมแทบทั้งสิ้น
3.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน - เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปต่างๆโดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลังจากนั้นได้สืบทอดโดยการพัฒนาอย่างไม่ขาดสายกลายเป็นศิลปะที่มีคุณค่าเฉพาะถิ่น
4.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน - นอกจากมนุษย์จะนำอาหารมาบริโภคเพื่อการอยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังได้นำเทคนิคการถนอมอาหารและการปรุงอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารที่มีมากเกินความต้องการสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานานซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังนำผักพื้นบ้านชนิดต่างๆมาบริโภคอีกด้วย
5.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นถือว่าเป็นการผ่อนคลายโดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งชอบความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ในการละเล่นที่ประดิษฐ์มาจากธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างกลมกลืน
6.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม - ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของแต่ละภาคเราสามารถพบหลักฐานจากร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไป เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิค ความคิด ความเชื่อของบรรพบุรุษเป็นอย่างดี
7.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้ส่วนมากแสดงออกถึงความสนุกสนาน และยังเป็นคติสอนใจสำหรับคนในสังคม ซึ่งมีส่วนแตกต่างกันออกไปตามโลกทัศน์ของคนในภาคต่างๆ
8.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสมุนไพรและตำรายาพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ของคนในอดีตและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้
9.             ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม - เทคโนโลยีและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละภาคนั้นถือเป็นการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมชั้นเยี่ยม ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับความสนใจในการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาประเภทนี้เท่าที่ควร หากมีการเรียนรู้และสืบทอดความคิดเกี่ยวกับการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมให้แก่เยาวชน จะเป็นการรักษาภูมิปัญญาของบรรพชนได้อีกทางหนึ่ง
10.      ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ - เนื่องจากคนไทยมีอาชีพที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา ทำไร่ จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อแก้ปัญหาหรืออ้อนวอนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเพื่อเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตรทั่วทุกภูมิภาคของไทย

4.   ภาษาไทย
                โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาภาษาไทย ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง การเขียนเรียงความ มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
การเรียงความ
 ความหมายของเรียงความ
         เรียงความ เป็นงานเขียน ร้อยแก้ว ชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับขั้นและสละสลวย
องค์ประกอบของเรียงความ
 มี ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ
คำนำ
        เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้
- ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ
- ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
- ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย
- อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้

เนื้อเรื่อง
        เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้
- ความถูกต้อง  แจ่มแจ้งสมบูรณ์  ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี  ซึ่งเรียกว่ามี      สารัตถภาพ
- ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ
- เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่อง       สัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ

 สรุป
        เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น
การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้
- เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย่อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)
- อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น
- ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้
- ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก
ตัวอย่างเรียงความ
ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ได้เรียนรู้                           แม่เฝ้าดูอยู่ข้างกายไม่หน่ายหนี
อยากเห็นลูกสุขสบายในชีวี                                เป็นคนดีที่สังคมนั้นชมเชย
        แม่ เปรียบเสมือนครูคนแรกของฉัน เป็นคนสอนให้ฉันรู้จักกับคำ คำแรกของชีวิต คำแรกที่ฉันพูดได้คือคำว่าแม่ คำที่มีความหมายมากที่สุดในชีวิตของฉันแม่ตั้งท้องฉันมาตั้งเก้าเดือน หนักแค่ไหนแม่ไม่เคยบ่น แม่เสียสละทั้งกายและใจเพื่อลูกได้ ถึงแม้จะหิวขนาดไหนแม่ก็ไม่เคยบ่นเลย ขอให้ลูกได้อิ่มก็พอแล้ว แม่เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่คอยส่องแสงให้ฉันในยามที่ฉันท้อแท้ หมดแรง หมดหวัง กำลังใจทุกอย่างก็มีแต่แม่ที่คอยให้กำลังใจให้ฉันเสมอมา
        ก้าว แรกในชีวิตของฉัน คำพูดคำแรกเกิดขึ้นได้ก็เพราะแม่ แม่ที่คอยเสียสละหยาดเหงื่อแรงกายเพื่อฉัน ทำงานหนักเพื่อฉันทุกหยาดเหงื่อที่ไหลหยดลงมาแม่ไม่เคยคิดว่ามันคือความ เหนื่อยหรือความยากลำบากแม้แต่น้อยแต่แม่ของฉันคิดว่าหยาดเหงื่อที่ไหลหยดลง มานั้นคืออนาคตของฉัน แม่ของฉันเปรียบเสมือนพยาบาลที่ทำงานดูแลฉันโดยไม่คิดค่าแรงใดๆเลย ยามที่ฉันป่วยไข้ ไม่สบายก็มีแต่แม่ที่คอยดูแลอยู่ตลอดเวลา บางคืนก็ไม่ได้นอนด้วยซ้ำไป แต่ฉันก็ไม่เคยเห็นแม่บ่นเลยแม้แต่น้อย
        บาง ครั้งในเวลาที่ฉันเศร้าไม่สบายใจทุกข์ใจ ฉันก็มองกลับไปดูก็เห็นแต่แม่ที่เศร้ากว่า ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะแม่ บางครั้งที่ฉันทำผิดก็ดุด่าแต่ฉันก็เข้าใจว่าทุกคำที่แม่ด่าคือความหวังดี ไม่อยากให้ลูกทำผิด ฉันจึงจะพยายามทำทุกอย่างให้แม่มีคามสุข ไม่ผิดหวังกับฉันที่แม่ทำทุกอย่างทนหนักทนลำบากในการทำงานที่แลกด้วยหยาด เหงื่อก็ขอเพียงแต่เห็นลูกประสบความสำเร็จในชีวิต ฉันจะพยายามตั้งใจเรียนให้สบกับที่แม่ของฉันได้ลงทุนไปด้วยหยาดเหงื่อ ฉันจะไม่ยอมให้เหงื่อทุกหยดของแม่สูญเปล่า
         สองมือนั้นประกบลง พนมไหว้                          ด้วยหัวใจ  ที่คงรัก แม่เสมอ
แม่เจ็บช้ำ เศร้าใจ นอนละเมอ                                    ลูกพร่ำเพ้อ แค่ไหน แม่เตือนเอา
         ครบกำหนด ลูกเกิด วันเจ็บ                               แม่ทนเก็บ ความเศร้า ลูกสมหวัง
ลูกผิดพลาด ทุกอย่าง แม่รับฟัง                                   ลูกสมหวัง แม่มีสุข หมดทุกข์ใจ


5.              วิชาภาษาอังกฤษ
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาภาษาอังกฤษ ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง การเขียนวิธีการทำน้ำพริกเป็นภาษาอังกฤษ มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
Nam phrik
Nam phrik generally pronounced "nam phik" is a generic term that may refer to any of the types of more or less thick, spicychili-based, hot sauces typical of Thai cuisine. Usual ingredients for nam phrik are fresh or dry chilies, garlicshallotslime juice and often some kind of fish or shrimp paste. In the traditional way of preparing the sauce, the ingredients are pounded together using a mortar and pestle, with either salt or fish sauce added to taste.
Nam phrik is normally served on small saucers placed by the main dish as a condiment or dip for bland preparations, such as raw orboiled greens, fish, poultry and meats. Depending on the type, the region and the family that prepares it, nam phrik may vary in texture from a liquid to a paste to an almost dry, granulous or powdery consistency.
Instead of khrueng kaeng or phrik kaeng, the words nam phrik can also be used to denote Thai curry pastes such as in nam phrik kaeng som for kaeng som or nam phrik kaeng phet for kaeng phet.
History
The first Westerner to report of nam phrik was Simon de la Loubère. As the French ambassador to the court of Ayutthaya in 1687/1688 CE he notes that it contains "a mustard like sauce, which consisted of Cray Fish corrupted (fermented fish); which they called krapi." KingChulalongkorn, regarded as one of the greatest kings of Thailand, repeatedly stated during his tour of Europe in 1907 CE that, besideskhai chiew, he most missed nam phrik. The chef David Thompson, an acknowledged expert on Thai cuisine, writes "They are at the very core of Thai cooking and have fed the Thai from their distant past to the present."
Chili peppers originate from the Americas, where they have been cultivated for over 6000 years, and were probably introduced to Asia, and Thailand, in the 16th century CE by Portuguese emissaries and traders in what is known as the Columbian Exchange. Before chili peppers were known and enthusiastically embraced in Thai cuisine, other spices such as black pepperlong pepper, and Sichuan pepper were used instead to achieve the desired "spiciness".
Selected types
For "nam phrik" as curry pastes, see Thai curry
Types of nam phrik vary according to the ingredients, the preparation and the region. Some may include tamarindgreen mango,galangallemongrass and/or mushrooms and even ingredients such as frog.  If fish paste is used, it may be made in a variety of ways, by mincing dried, boiled, grilled or salted fish, or by using fish roe. In Isanpla ra, giving an intense flavor, is often used. Some types ofnam phrik may be sweetened with sugar. A Thai cooking book from 1974 CE lists over 100 different recipes. Among the most widespread varieties, the following deserve mention:
§  Nam phrik kapi (Thaiน้ำพริกกะปิ) is one of the most widespread varieties and is typical of central Thailand. It is often eaten with friedpla thu and vegetables, among other dishes.
§  Nam phrik kha (Thaiน้ำพริกข่า) is made with roasted chilies, garlic, galangal and salt. This northern Thai specialty is often served as a dip for steamed mushrooms. 
§  Nam phrik long ruea (Thaiน้ำพริกลงเรือ; lit. "In the boat chili paste") is an elaborate fried nam phrik using several kinds of fruits such as Garcinia schomburgkiana and Solanum feroxdried shrimp, sweet pork, and shrimp paste in addition to chilies, garlic and sugar. It is eaten with salted duck egg, fresh greens, and, for instance, sliced Zedoary ("white turmeric").
§  Nam phrik maeng da (Thaiน้ำพริกแมงดา) incorporates roasted and pounded maeng da (Lethocerus indicus, a kind of Giant water bug) for its specific taste.
§  Nam phrik narok (Thaiน้ำพริกนรก) literally translates to "chili paste from hell". It is made with dried chilies, shrimp paste, catfish, shallots, garlic, fish sauce and sugar.
§  Nam phrik num (Thaiน้ำพริกหนุ่ม), a thick northern specialty based on roasted green chilies, onion and garlic, is usually eaten along with vegetables, pork cracklings and sticky rice.
§  Nam phrik ong (Thaiน้ำพริกอ่อง) is a traditional specialty of northern Thailand made with minced pork and tomato.
§  Nam phrik phao (Thaiน้ำพริกเผา) is sweetened with sugar with, among other ingredients, roasted chilies and tamarind. It is popular as a spread on bread or toast. It can also be used as an ingredient, for instance in tom yum or in the Thai salad with squid called phla pla muek.
§  Nam phrik pla ching chang (Thaiน้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง) is based on small, local anchovies (Stolephorus) popular in Phuket.
§  Nam phrik pla ra (Thaiน้ำพริกปลาร้า) is made with pla ra as one of the main ingredients. Like most types of nam phrik, a little water is used if the mixture becomes too thick.
§  Nam phrik pla salat pon (น้ำพริกปลาสลาดป่น), also known as phrik pla salat pon, is a variety of nam phrik with powdered, roasted, drypla salat (Notopterus notopterus). All main ingredients (the dry fish, red dry chili and garlic) are previously roasted until crunchy. Shrimp paste and sugar are also added, and the mixture is pounded with a mortar and pestle. It is eaten with raw vegetables, and is popular in Khorat.
§  Nam phrik pla yang (Thaiน้ำพริกปลาย่าง) is mainly minced, grilled fish, usually pla chon, mixed with onion, garlic, powdered chili,tamarind, shrimp paste, fish sauce and sugar.


คำศัพท์ เครื่องปรุงรส
กระเทียมเจียว  Fried garlic
กระเทียมดอง  pickled garlic
กะทิ  Coconut milk
กะปิ  Shrimp paste
เกลือ  Salt
ของดอง  Pickled garlic
ขัณฑสกร  Saccharin
ขิงดอง  Pickled ginger
เครื่องเทศ  Spice
ซอสพริก  Chili sauce
ซอสมะเขือเทศ  Tomato ketchup
ซี้อิ้วขาว  Light Soya sauce
ซี้อิ้วดำ  Black Soya sauce ,[Thick Soya sauce]
เต้าเจี้ยว  Fermented soya bean
เต้าเจี้ยวน้ำ  soy bean paste
น้ำเชื่อม  Syrup
น้ำซุป  Soup stock
น้ำตาลก้อน  Cube sugar
น้ำตาลโตนด  Jaggery palm
น้ำตาลทราย  Sugar
น้ำตาลทรายแดง  Brown sugar
น้ำตาลป่น  Icing
น้ำตาลปี๊บ  Palm sugar
น้ำตาลปึก  loaf sugar


น้ำตาลเมเปิ้ล  Maple sugar
น้ำปลา  Fish sauce
น้ำผึ้ง  Honey

น้ำมะขามเปียก  Tamarind juice
น้ำมะนาว  Lime juice
น้ำมันข้าวโพด  Corn oil
น้ำมันงา  Sesame oil
น้ำมันพืช   Cooking oil,Vegetable oil
น้ำมันมะกอก  live oil
น้ำมันหมู  Lard
น้ำมันหอย  Oyster sauce
เนยแข็ง     Cheese
เนยเค็ม  Salted butter
เนยจืด  Unsalted butter
เนยเทียม  Margarine
ผิวส้มซ่า  Sliced lemon rind
มัสตาด  Mustard
เมล็ดงา  Sesame seeds
หอมเจียว  Fried shallots
หัวกะทิ  Coconut cream
หางกะทิ  Dilute coconut cream
เหล้า  Alcohol
 

คำศัพท์ เนื้อสัตว์ 
กบ  Frog
ก้างปลา  Fish bone
ก้ามปู  Pincer,Claw
กุ้งกุลาดำ  Tigre prawn,shrimp
กุ้งชีแห  Prawn,Shrimp
กุ้งแชบ๊วย   White prawn,shrimp
กุ้งนาง   Crayfish
กุ้งแห้ง  Dried shrimp
กุ้งแห้งป่น  Ground,dried shrimp
กุ้งใหญ่ , กุ้งมังกร  Lobster
ไก่  Chicken
ไข่กลอกเป็นแผ่นบางๆ   Swirl to from tin layer
ไข่ไก่  Egg
ไข่ขาว   White egg
ไข่เค็ม  Salted egg
ไข่แดง  Yolk
ไข่ต้ม   Boiled egg
ไข่นกกระทา  Quail egg
ไข่ปลา  Sdawn
ไข่ปลาทั้งลอน  Roe
ไข่ปลาทั้งลอน  Roe
ไข่ปู  Crab's spawn
ไข่เป็ด Duck egg
ไข่เยี่ยวม้า  Egg soaked in quick lime,until the white turn to dark geen
ตับหมู  Pork Liver
เต้าหู้  Bean curd
เต้าหู้ขาวอ่อน  Soft white bean curd
เต้าหู้ยี้  Fermented bean curdเต้าหู้หลอด  Soft white bean curd
 เต้าหู้เหลือง  Yellow bean curd
น่องไก่  Drumstick
เนื้อกวาง  Venison
เนื้อแกะ  Mutton
เนื้อเค็มแห้ง  Salty sun dried
beet
เนื้อติดชี่โครง  Chop
เนื้อปลาขูด  Scraped fish meat
เนื้อลูกวัว  Veal
เนื้อวัว  Beef
เนื้อสะโพก  Rump
เนื้อสัน  Filet mignon
เนื้อสันนอก  Sirloin
เนื้อสันใน  Tenderloin
เนื้อหมู  Pork
เนื้อเอ็นน่อง(วัว)  Beef shankเบคอน  Bacon
ปลากระป๋อง  Canned fish
ปลากราย  Feathre back
ปลากะบอก  Mullet
ปลากะพงขาว  Bass
ปลากะพงแดง  Snapper
ปลากุเลา  Haddock
ปลาเก๋า  Rock cod
ปลาเค็ม  Salty fish
ปลาจาระเม็ด  Pomfret,Butter fish,Halibut
ปลาช่อน  Serpent head
ปลาซัลมอน  Salmon
ปลาดุก  Catfish
ปลาดุกฟู  Crispy fried catfish
ปลาแดง  Red snapper
ปลาตะเพียน  Bream
ปลาทู   Mackerel
ปลาน้ำจืด  Fres water fish
ปลาเนื้ออ่อน   Sheat-fish
ปลาร้า  Fermented fish
ปลาลิ้นหมา   Sole
ปลาสร้อย  Cyprinid fish
ปลาสลิด   Gouramy
ปลาหมอ  Climbing perch
ปลาหมึก  Squid
ปลาหมึกกระดอง  Cuttlefish
ปลาหมึกยักษ์  Octopus
ปลาหมึกแห้ง  Dried squid
ปลาแห้ง   Sun dried fish
ปลาไหล  Eel
ปลาอินทรีย์   Mackerel
ปลาโอ  Tunny,Tuna
ปู  Crad
เป็ด  Duck
เป็ดย่าง  Roasted duck
แมงกะพรุน   Jellyfish
ไส้กรอก  sausage
หนวดปลาหมึก  Tentaclrs
หมูบด  Ground pork
หมูสับบะฉ่อ   Minced pork
หมูสามชั้น   Pork belly
หมูหั่นชิ้นยาวๆ   Slice pork
หมูหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  Diced pork
หอยแครง  Blanched
หอยเซลล์   Scallop
หอยนางรม  Oyster
หอยเป๋าฮื้อ  Abalone
หอยแมลงภู่     Mussels
แหนม  Fermented pork
อกไก่   Chicken breast
แฮม  Ham

คำศัพท์ พืชผัก และสมุนไพร
กรรณิการ์(ดอก) Ebony Flower,Night blooming jasmine
กระจับ  Water cherstnut
กระเจี๊ยบ   Roselle
กระชาย   Galangal,Wild ginger
กระดังงาไทย   Ilang-Ilang
กระถิน   Lead
กระเทียม(กลีบ)   Garlic cloves
กระเทียม(ตำ)
   Crashed,Minced garlic
กระเพรา   Hoiy basil
กะหล่ำปม   Brussels sprouts
กะหล่ำปลี   Cabbage
กานพลู   Clove
เกาลัด   Chest nut

ขมิ้น   Turmeric
ขมิ้นขาว   White turmeric
ข่า   Galangal
ข้าวโพด   Corn,Maize
ข้าวโพดหวาน   Sweet corn
ข้าวโพดอ่อน   Baby cron
ขี้เหล็ก   Siamese cassia
ขิง   Ginger
ขิงแก่   Mature Ginger
ขิงผง   Powder Ginger
ขิงอ่อน(สด)   Young Fresh ginger
ขึ้นฉ่าย   Celery
ชะพลู   Betel leaf
ชะมวง   A leaves of genus garcinia tree
ชะอม   Cha-om (A plant of the genus Acacia insuvais)
ชะเอม   Liquorice
ดอกกะหล่ำ   Cauliflower
ดอกขจร   Milkweed flower
ดอกคำฝอย   Safflower
ดอกมะลิ   Jasmine
ดอกไม้จีน   Lily flower
ดอกอันชัน   Indigo flower,butterfly flower
ดีปลี   Long pepper

ต้นกระเทียม   Leek,Chinese leek
ต้นกุยช่าย   Chinese chives
ต้นหอม   Spring onions
ตะไคร้   Lemon grass
ตังโอ๋   A vegetable of celery family
แตงกวา   Cucumber
ถั่วเขียว   Mung bean,green bean
ถั่วแขก   Pod green pea
ถั่วงอก   Bean sprouts
ถั่วแดง   Red bean
ถั่วแปบ   Hyacinth bean
ถั่วผี   rice bean
ถั่วฝักยาว   Long podded cowpea,String bean
ถั่วพู   winged bean,Four-angled bean
ถั่วมะแฮะ   Chick pea
ถั่แระ   pigeon pea
ถั่วลันเตา   Garden pea,Sweet pea,Mangetout
ถั่วลิสง   Peanut
ถั่วลิสงคั่วปน
   Crashed,ground roasted peanuts

ถั่วเหลือง   Soya bean
เทียนอบ   Fragrant candle
น้ำเต้า   Bottle gourd
น้ำมะขาม   Tamarind juice
บวบฝรั่ง   Zucchini
บวบหอม   Snake gourd
บวบเหลี่ยม   Sponge gourd
ใบกระวาน   Bay leaf
ใบเตยหอม
   Screwpine,Sword-like leaves,pandas leaf
ใบทองหลาง   Coral tree leaves
ใบบัวบก   Indian pennywort
ใบมะกรูด  Coriander leaves
ใบมะกอก   kaffir lime leave
ใบมะขามอ่อน   Hog plum leaves
ใบยอ   Young tamarind leaves
ใบโหระพา   Morinda
โป๊ยกั๊ก   Sweet basil
ผงพะโล้   Anise,Star anise
ผักกระเฉด  Anise seed powder
ผักกวางตุ้ง   Water mimosa
ผักกาดขาว   Bok choy
ผักกาดหอม   Lettuce

ผักกาดหางหงส์
   Celery cabbage
ผักโขมจีน   Chinese spinach
ผักคะน้า   Chinese broccoli
ผักชี   Coriander,Chinese parsley
ผักชีฝรั่ง   Parsley
ผักชีลาว  Dill
ผักตำลึง   Ivy gour
ผักบุ้ง   Swamp cabbages
ผักป๋วยเล้ง   Spinach
ผิวมะกรูด   Kaffir lime rind
ผิวมะนาว   Lime rind
เผือก   Taro
ฟักข้าว   balsam apple
ฟักเขียว   Wax gourd
ฟักทอง   Pumpkin
มะกรูด   Kaffir lime
มะขามเปียก   Tamarind concentrate
มะเขือเทศ   Tomato
มะเขือพวง   Small egg plate,Plate brush egg piant
มะเขือยาว   Long egg plants
มะดัน   Shredded madan
มะนาว   Lime rind
มะม่วงหิมพานต์   Cashew nut

มะระ   Bitter gourd
มะรุม   Horse radish
มะอึก   Furry eggplants
มันเทศ   Sweet potatoes
มันฝรั่ง   Potatore
มันสำปะหลัง   Cassava
แมงลัก   Lemon-scented basil
ยอ   Indian mulberry
ยอดฟักทอง   Pumpkin wine tip
ยอดมะพร้าวอ่อน   Coconut palm tip
ยี่หร่า   Caraway
รากผักชี   Coriander root
รำข้าว   Barley rice brain
ลูกกระวาน   Cardamoms
ลูกจันทน์   Nutmeg
ลูกเดือย   Job's tears,Tear grass,Millet
ลูกตาล   Fishtail palm
สะเดา   Neem,Nim<Margosa
สะระแหน่   Mint leaf
สาหร่ายทะเล   Seaweed
โสม   Sesbania
หน่อไม้   Ginseng
หน่อไม้ฝรั่ง   Bamboo shoot
หอมแดง   Asparagus

หอมหัวใหญ่   Shallots,Scallions
หัวไชเท้า   Onions
หัวปลี   Banana bud,Banana flowre
หัวผักกาด   Turnip
เห็ด   Mushroom
เห็ดโคน   Common white mushroom
เห็ดแชมปิยอง  Champion
เห็ดนางฟ้า   Angel mushroom
เห็ดนางรม   Oystre Mushroom
เห็ดเป๋าฮื้อ   Abler mushroom
เห็ดเผาะ   Puffball
เห็ดฟาง   Straw mushroom
เห็ดหอม   Dried Chinese mushroom
เห็ดหูหนู   Ear mushroom,Black mushroom
แห้ว   Truffle
อบเชย   Cinnamon
 
คำศัพท์ วิธีการเตรียม และการประกอบอาหาร 
กด  Press
กรอง  Strain
กรองด้วยผ้าขาวบาง  Blot
กลิ้ง  Roll
กวน ( กวนไปในทางเดียวกัน)  Stir
กวน ( คนของผสมให้เข้ากัน)  Beat
การเคี่ยว     Simmer
การต้ม  Boiling
การต้มอย่างสุกๆ ดิบๆ  Parboil
การทอด  Sauteing ,Frying
การทอดโดยใส่น้ำมันมาก ให้ท่วมอาหาร  Deep fry
การนึ่ง  Steam
การปอก  Pare,Pell
การผสม โดยการตีหรือคนให้เข้ากัน  Mix
การผิงโดยไฟบน     Gratin
การย่าง Grilling,Broilling,Roasting
การร่อน  Sift
การแล่เนื้อ  Butchery
การสตู  Stewing
การสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  Mince
การอบ  Roasting,Braising
การอบในเตาอบ  Roasting meats in the oven
แกะเปลือกออก  Shell
ขอด     Descale
ขอดเกล็ดปลา  Descale the fish
ขูด   Scrape
โขลก   Pound
คน  Stir
คนเป็นครั้งคราว  Stir occasionally
คนเร็วๆ  Stir quickly
คนสม่ำเสมอ  Stir constantly
คลุก  Toss
คว้าน หรือ ตัก หรือ แซะ  Scoop
คั้น  Squeeze
คั่ว  Dry-fry
เคี่ยว  Simmer
จักเป็นร่อง  Cut channels down the length
จิ้ม หรือ ชุบ หรือ จุ่ม   Dip or Immerse
ฉาบด้วยน้ำตาล  Coated with sugar
เฉาะ   Open the shall
เฉือน   Trim
แช่น้ำไว้   Soak
แช่พริกแห้งในน้ำ  Soak the dried chillies
ซอย  Shred
แซะเมล็ดออก     Scoop out the seeds Scoop out the seeds
เด็ดทิ้ง  Discard
ต้ม  Boiling
ตั้งกะทิให้แตกมัน  Bring the coconut milk to the boil until some oil has surfaced
ทอด Deep fry
ทอดค่อนข้างดิบ  Rare-bleu
ทอดค่อนข้างสุก  Medium-rare-saignant
ทอดจนเหลือง  Deep fry until golden
ทอดปานกลาง    Medium-a Point
ทอดระยะสั้น  A La Minute
ทอดสุก  Welldone-bien Cuit
ทา  Spread
ทิ้งให้เย็น  Cool
ทุบพอแตก Slightly crushedเท  Pour
นวด  Knead
นึ่ง  Steam
บด  Grind
บั้ง  Score
บิ (ทำให้แตกออก)    Break
บี้ หรือ บด   Mash
ปรุงให้สุก   Cook
ปอกเปลือก  Peel
ปิ้ง  Toast
ปิด หรือ คลุม   Cover
ผสม   Mix
ผัด   Stir-fry or Fry
ผูก  Truss
ฝาน หรือ หั่นเป็นชิ้นบาง     Slice
ม้วน  Roll up
ยัดไส้   Stuffing
ย่าง     Grill
ย่างใต้ระดับความร้อน  undre Heat
ย่างระหว่างความร้อน  Between Heat
ย่างเหนือความร้อน   Over Heat
ยี   Puree
รมควัน   Smoked
รวน   Pan-fry
ร่อน  Sieve or Sift
โรย  Sprinkle
ลวก  Scald or Blanch
ละเลง   Spread with a circular motion
ล้าง  Wash
แล่  Carve
สะเด็ดน้ำ   Drain
สับละเอียด   Mince
สับหยาบ   Chop
เสียบ   Skewer
หมัก  Fermented
หยด   Drop
หยิบมือ   Pinch
ห่อ  Wrap
หั่น  Cut
หั่นแฉลบ  Slice diagonally
หั่นเป็นชิ้นบาง  Thin Slices
หั่นเป็นท่อน ยาว 1 นิ้ว   Cut into 1-inch pieces
หั่นเป็นแว่น     Cut into wedges
หั่นเป็นเส้นๆ  Cut into fine strips
หั่นฝอย   Shred
หุงต้มด้วยความร้อนชื้น  Moist heat cooking
อบ  Bake
อบด้วยควันเทียนในขวดโหลปิดแน่น   Store in tightly closed Jar with scented candle
คำศัพท์ ภาชนะ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร กระชอน   Sieve,Strain
กล่องเก็บขนมปัง   Bread bin
ก๊อกน้ำ   Tap
กระทะก้นตื้น   Frying pan,Fry-pan,Skillet
กระทะก้นลึก   Wok
กาน้ำ   Kettle
กาน้ำขนาดใหญ่มีก๊อกเปิด-ปิด   Urn
เขียง   Cutting board
ครก(หิน)/สาก
   (Granite)Mortar/Pestle
ครัว   Kitchen
เครื่องปิ้งขนมปัง   Toasten
เครื่องล้างจาน   Dish washer
จาน   Plate
จานรองถ้วย   Saucer

ช้อน   Spoon
ช้อนชา   Teaspoon
ช้อนโต๊ะ   Tablespoon
ชาม   Dish
ซ่อม   Folk
ตะกร้า   Basket
ตะเกียบ   Chopsticks
ตะแกรง   Shallow basket
ตะแกรงคว่ำจาน   Dis drained
ตะหลิว   Tunrer,Fish-slice
ตะหลิวแบน   Pan cake turner
ตาชั่ง   Scale
ตู้กับข้าว(ติดข้างฝา)   Larder
ตู้เย็น   Refrigerator
เตาแก๊ส   Gas stove
เตาไฟฟ้า   Electric stove
เตาอังโล่   Terracotta brazier
ถ้วย   Bowl
ถ้วยกาแฟ   Coffee cup
ถ้วยชา   Tea cup
ถังขยะ   Waste bin
โถชา/กาแฟ   Tea/Coffee pot
ทัพพี   Ladle
ที่เปิดกระป๋อง   Can opener
ที่รองหม้อ-จานร้อน   Hotplate
ผ้าขี้ริ้วล้างจาน   Diish cloth
ผ้าเช็ดมือ , ผ้าเช็ดปาก  Napkins
ผ้าปูโต๊ะ   Table cloth
ผ้ารองจาน   Place mat
พวงเครื่องปรุงรส Cruet,Condiment
พายปาด   Spatula
พิมพ์ขนม   Mould,Mold
มีด   Knife

มีดแกะสลัก   Carving Knife
มีดฟันเลื่อย   Slicing Knife
ลังถึง   Steamer
หม้อ   Casserole
หม้อตุ๋น   Double boiler
หม้อตุ๋นไฟฟ้า   Slow cooker
หม้อมีด้ามจับ   Saucepan
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า   Electric rice cooker
หม้อหยวนโล้ว   Chinese self-warming tureen-like pot
เหยือกน้ำ   Mug
อ่างล้างชาม   Sink
 


6.              วิชาศิลปะ
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาศิลปะ ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง การแต่งเพลงเกี่ยวกับน้ำพริก และรำประกอบเพลง มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
เพลง น้ำพริกเผากากหมู
ต่อไปนี้จะเล่าถึงน้ำพริกอร่อย คือน้ำพริกกินบ่อยๆ รสชาติแสบดี วิธีทำก็ง่ายจะบอกให้ต่อไปนี้ มันเป็นวิธี วิเศษเหลือหลาย ไปซื้อหอมกระเทียม น้ำตาล เกลือป่น ปรุงน้ำพริกให้เข้มข้น ใช้ได้ดั่งใจ ตำกระเทียมเผากับหอมแดง ยอดเยี่ยมกลิ่นไอ  มะขาม น้ำปลา น้ำตามทราย น้ำตาลปี๊บถ้ามี
*ปรุงรสให้แซบหนอ ใส่กากหมูลงไป อ้ออย่าลืมใส่เกลือป่นของดี เป็นเสร็จพิธี ตักใส่ถ้วยเร็วพลัน รับประทานกับผักชี แตงกวา ถั่วฝักยาว หรือทานกับข้าวมันก็อร่อยดี สุขเกษมเปรมปรีดิ์ อร่อยดีจริงเอย จดตำราจำ นำพริกเผาหมูกรอบเราหนา ใครหม่ำเกินอัตราระวังท้องจะพัง ขอแถมอีกนิดแล้วจะติดใจใหญ่ ไข่เค็มด้วยเป็นไร อร่อยแน่จริงเอย
( ซ้ำ *.*)


7.   วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง อาหาร 5 หมู่และโภชนาการ อาหาร และสารอาหารมาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
อาหาร
อาหาร คือ สิ่งที่มีประโยชน์เมื่อร่างกายกินเข้าไปก็สามารถย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราควรกิน อาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่
                หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว
                หมู่ที่
2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
                หมู่ที่
3 ผักใบเขียวต่าง ๆ
                หมู่ที่
4 ผลไม้ต่าง ๆ
                หมู่ที่
5 ไขมันและน้ำมัน
อาหาร    หมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ
                อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ อาหารหมู่นี้ส่วนใหญ่จะให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ
ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ หรือจากการเจ็บป่วยอาหารหมู่นี้จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง น้ำย่อย ฮอร์โมน ตลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติอาหารในหมู่นี้ ได้แก่ นม ไข่ เนื้อ หมู วัว ตับ ปลา ไก่ และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว
เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น

หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

                หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย พลังงานที่ได้จากหมู่นี้ส่วนใหญ่จะใช้ให้หมดไปวันต่อวัน เช่น ใช้ในการเดิน ทำงาน การออกกำลังกายต่าง ๆ แต่ถ้ากินอาหารหมู่นี้มากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน และทำให้เกิดโรคอ้วนได้ อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้ง  เช่น ก๋วยเตี๋ยวรวมทั้งเผือก มันต่าง ๆ น้ำตาลที่ทำมาจากอ้อยและมาจากน้ำตาลมะพร้าว

อาหารหมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ
                หมู่ที่ 3 อาหารหมู่นี้จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติอาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาด และผักใบเขียวอื่น ๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงพืชผักอื่น ๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้นนอกจากนั้นอาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ

อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
                อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรค และมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม มังคุด ลำไย เป็นต้น
อาหารหมู่ที่
5 ไขมันและน้ำมัน
                หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้จากหมู่นี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก ต้นขา เป็นต้น ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง  น้ำมันปาล์ม เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ด้วย

ความหมายของโภชนาการ อาหาร และสารอาหาร
 โภชนาการ  (nutrition) หมายถึง อาหาร (food) ที่เข้าสู่ร่างกายคนแล้ว ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุนและการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย โภชนาการมีความหมายกว้างกว่าและต่างจากคำว่าอาหาร  เพราะอาหารที่กินกันอยู่ทุกวันนี้มีดีเลวต่างกัน อาหารหลายชนิดที่กินแล้วรู้สึกอิ่ม แต่ไม่มีประโยชน์ หรือก่อโทษต่อร่างกายได้
          ถ้านำเอาอาหารต่างๆมาวิเคราะห์ จะพบว่ามีสารประกอบอยู่มากมายหลายชนิด โดยอาศัยหลักคุณค่าทางโภชนาการทำให้มีการจัดสารประกอบต่างๆ ในอาหารออกเป็น ๖ ประเภท คือ โปรตีน (protein) คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ไขมัน (fat) วิตามิน (vitamin) เกลือแร่ (mineral) และน้ำ สารประกอบทั้ง ๖ กลุ่มนี่เองที่เรียกว่า "สารอาหาร" (nutrient)  ร่างกายประกอบด้วยสารอาหารเหล่านี้ และการทำงานของร่างกายจะเป็นปกติอยู่ได้ก็ต่อ
เมื่อได้สารอาหารทั้ง ๖ ประเภทครบถ้วน

  โปรตีน

          โปรตีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้  ถ้านำเอาโปรตีนมาวิเคราะห์ทางเคมี จะพบว่าประกอบด้วยสารเคมีจำพวกหนึ่งเรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ
          ๑. กรดอะมิโนจำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างไม่ได้  ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น กรดอะมิโนที่อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่ ๙ ตัว คือ ฮิสติดีน (histidine) ไอโซลิวซีน (isoleucine) ลิวซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมไทโอนีน (methionine) เฟนิลอะลานีน (phenylalanine) ทรีโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine)
          ๒. กรดอะมิโนไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่นอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสร้างได้ เช่น อะลานีน (alanine) อาร์จินีน (arginine)  ซีสเตอีน (cysteine) โปรลีน (proline) และไทโรซีน (tyrosine) เป็นต้น
          เมื่อโปรตีนเข้าสู่ลำไส้  น้ำย่อยจากตับอ่อนและลำไส้จะย่อยโปรตีนจนเป็นกรดอะมิโนซึ่งดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  ร่างกายนำเอากรดอะมิโนเหล่านี้ไปสร้างเป็นโปรตีนมากมายหลายชนิด  โปรตีนแต่ละชนิดมีส่วนประกอบและการเรียงตัวของกรดอะมิโนแตกต่างกันไป
    หน้าที่ของโปรตีน

          โปรตีนมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายอยู่ ๖ ประการ  คือ
          ๑. เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตไขมันและคาร์โบไฮเดรตไม่สามารถทดแทนโปรตีนได้เพราะไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
          ๒. เมื่อเติบโตขึ้น ร่างกายยังต้องการโปรตีนเพื่อนำไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆที่สึกหรอไปทุกวัน
          ๓. ช่วยรักษาดุลน้ำ โปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือด ช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์  และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ถ้าร่างกายขาดโปรตีน น้ำจะเล็ดลอดออกจากเซลล์และหลอดเลือดเกิดอาการบวม
          ๔. กรดอะมิโนส่วนหนึ่งถูกนำไปสร้างเป็นฮอร์โมน เอนไซม์ สารภูมิคุ้มกัน และโปรตีนชนิดต่างๆ ซึ่งแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันไป และมีส่วนทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
          ๕. รักษาดุลกรด-ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนมีหน่วยคาร์บอกซีล (carboxyl) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด  และหน่วยอะมิโนมีฤทธิ์เป็นด่าง โปรตีนจึงมีสมบัติรักษาดุลกรด-ด่าง ซึ่งมีความสำคัญต่อปฏิกิริยาต่างๆภายในร่างกาย
          ๖. ให้กำลังงาน โปรตีน ๑ กรัมให้กำลังงาน ๔ กิโลแคลอรี อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกายได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันเพียงพอ จะสงวนโปรตีนไว้ใช้ในหน้าที่อื่น
         
อาหารที่ให้โปรตีน

อาจแบ่งโปรตีนตามแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนออกเป็น ๒ พวก คือ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช  เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ให้โปรตีน  ต้องคำนึงถึงทั้งปริมาณและคุณภาพ  คือ ดูว่าอาหารนั้นมีโปรตีนมากน้อยเพียงใด และมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนหรือไม่ อาหารที่ให้โปรตีน น้ำหนักส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นโปรตีน และจากตารางจะเห็นว่าอาหารแต่ละชนิดมีโปรตีนไม่เท่ากัน โปรตีนจากนมและไข่ถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการยอดเยี่ยม เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน  ส่วนโปรตีนจากธัญพืชนอกจากมีปริมาณต่ำกว่าในเนื้อสัตว์และไข่แล้ว ยังมีความบกพร่องในกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด  เช่น  ข้าวขาดไลซีนและทรีโอนีน ข้าวสาลีขาดไลซีน ข้าวโพดขาดไลซีนและทริปโตเฟน  ส่วนถั่วเมล็ดแห้ง แม้ว่าจะมีปริมาณโปรตีนสูง   แต่มีระดับเมไทโอนีนต่ำ  อย่างใดก็ตามโปรตีนจากพืชยังมีความสำคัญ เพราะราคาถูกกว่าโปรตีนจากสัตว์ และเป็นอาหารหลักของประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนา   เพียงแต่ว่าต้องทำให้ประชาชนได้โปรตีนจากสัตว์เพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของโปรตีนที่รับประทานในแต่ละวัน

ความต้องการโปรตีน

          คนเราต้องการโปรตีนในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัย ๒ ประการ คือ อาหารที่กินมีปริมาณและคุณภาพของโปรตีนอย่างไร และตัวผู้กินอายุเท่าไร  ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือเปล่า  ตลอดจนมีอาการเจ็บป่วยอยู่หรือไม่  ความต้องการของโปรตีนลดลงตามอายุ  เมื่อแรกเกิดเด็กต้องการโปรตีนวันละประมาณ ๒.๒  กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม  ความต้องการดังกล่าวนี้ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งตั้งแต่อายุ ๑๙ ปีขึ้นไป  ต้องการโปรตีนเพียง ๐.๘ กรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัมต่อวัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเด็กต้องการโปรตีนไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆในการเจริญเติบโต  ส่วนผู้ใหญ่แม้ว่าการเจริญเติบโตหยุดแล้ว  แต่ยังต้องการโปรตีนไว้ซ่อมแซมส่วนต่างๆ  ที่สึกหรอไป ส่วนหญิงตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกวันละ ๓๐ กรัม เพื่อนำไปใช้สำหรับแม่และลูกในครรภ์  แม่ที่ให้นมลูกต้องกินโปรตีนเพิ่มอีกวันละ ๒๐ กรัม เพราะการสร้างน้ำนมต้องอาศัยโปรตีนจากอาหาร
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต จัดเป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในแต่ละโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีไฮโดรเจนและออกซิเจนอยู่ในอัตราส่วนสองต่อหนึ่ง   สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือCn H2n On

          คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
          ๑. โมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อกินแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลย ไม่ต้องผ่านการย่อย ตัวอย่างของน้ำตาลประเภทนี้ได้แก่ กลูโคส (glucose) และฟรักโทส (fructose) ทั้งกลูโคสและฟรักโทสเป็นน้ำตาลที่พบได้ในผัก ผลไม้ และน้ำผึ้ง น้ำตาลส่วนใหญ่ที่พบในเลือด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
          ๒. ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharide)  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ ๒ ตัวมารวมกันอยู่ เมื่อกินไดแซ็กคาไรด์เข้าไป น้ำย่อยในลำไส้เล็กจะย่อยออกเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางด้านอาหาร  คือ แล็กโทส (Lactose)  และซูโครส  (sucrose)  แล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนม แต่ละโมเลกุลประกอบด้วยกลูโคส  และกาแล็กโทส (galactose) ส่วนน้ำตาลทรายหรือซูโครสนั้น พบอยู่ในอ้อยและหัวบีต แต่ละโมเลกุล ประกอบด้วย กลูโคสและฟรักโทส
          ๓. พอลีแซ็กคาไรด์  (polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่  และมีสูตรโครงสร้างซับซ้อน  ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมตัวกันอยู่   พอลีแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางอาหาร  ได้แก่ ไกลโคเจน (glycogen) แป้ง (starch) และเซลลูโลส (cellulose) ไกลโคเจนพบในอาหารพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ส่วนแป้งและเซลลูโลสพบในพืช แม้ว่าไกลโคเจน แป้ง และเซลลูโลสประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกัน แต่ลักษณะการเรียงตัวของกลูโคสต่างกันทำให้ลักษณะสูตรโครงสร้างต่างกันไป เฉพาะไกลโคเจนและแป้งเท่านั้นที่น้ำย่อยในลำไส้สามารถย่อยได้  น้ำตาลประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลที่มีรสหวาน แต่มี
รสหวานไม่เท่ากันน้ำตาลฟรักโทส  กลูโคส และแล็กโทสมีความหวานเป็นร้อยละ ๑๑๐, ๖๑ และ ๑๖ ของน้ำตาลทรายตามลำดับ

   หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

          คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังนี้
          ๑. ให้กำลังงาน    กรัมของคาร์โบไฮเดรตให้ ๔ กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน  ชาวไทยในชนบทบางแห่งได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตถึงร้อยละ ๘๐
          ๒. สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นกำลังงาน ถ้าได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ
          ๓. จำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ถ้าหากร่างกายได้คาร์โบไฮเดรตไม่พอจะเผาผลาญไขมันเป็นกำลังงานมากขึ้น เกิดสารประเภทคีโทน  (ketone  bodies) คั่ง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
          ๔. กรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) ซึ่งเป็นสารอนุพันธุ์ของกลูโคส ทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อผ่านไปที่ตับ ให้มีพิษลดลง และอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกได้
          ๕. การทำงานของสมองต้องพึ่งกลูโคสเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
          ๖. อาหารคาร์โบไฮเดรตพวกธัญพืช เป็นแหล่งให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ด้วย

 อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตและความต้องการคาร์โบไฮเดรต

          อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตมีอยู่ ๕ ประเภท คือ ธัญพืช ผลไม้ ผัก นม ขนมหวานและน้ำหวานชนิดต่างๆ แม้ว่าโปรตีนและไขมันให้กำลังงานได้เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้ใหญ่แต่ละคนควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่ต่ำกว่า  ๕๐-๑๐๐ กรัม เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายจากการเผาผลาญโปรตีนและไขมัน ถ้าจะให้ดีร้อยละ ๕๐ ของกำลังงานที่ได้รับในแต่ละวันควรด้มาจากคาร์โบไฮเดรต
     ไขมัน

          ไขมัน หมายถึง สารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ  แต่ละลายได้ดีในน้ำมันและไขมันด้วยกัน  ตัวอย่างของไขมันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน  คือ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และคอเลสเทอรอล ส่วนใหญ่ของไขมันที่อยู่ในอาหาร คือ ไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้น เมื่อพูดถึงไขมันเฉยๆ  จึงหมายถึงไตรกลีเซอไรด์  แต่ละโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol)  และกรดไขมัน  (fatty  acid) โดยกลีเซอรอลทำหน้าที่เป็นแกนให้กรดไขมัน    ตัวมาเกาะอยู่  กรดไขมันทั้ง ๓  ชนิดอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ได้   ไตร-กลีเซอไรด์ที่สกัดจากสัตว์มีลักษณะแข็งเมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง  ส่วนไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากเมล็ดพืชผลไม้เปลือกแข็งและปลามีลักษณะเป็นน้ำมัน

   กรดไขมัน

          เป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน กรดไขมันแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. กรดไขมันไม่จำเป็น เป็นกรดไขมันที่นอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสังเคราะห์ได้ด้วย เช่น กรดสเตียริก (stearic acid) กรดโอเลอิก (oleic acid)
          ๒. กรดไขมันจำเป็น  เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไป  มีอยู่ ๓ ตัวคือ กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดไลโนเลนิก  (linolenic  acid)  และกรดอะแรคิโดนิก (arachidonic acid) กรดไลโนเลอิกเป็นกรดไขมันจำเป็นที่พบมากที่สุดในอาหาร ส่วนกรดอะแรคิโดนิกนอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสร้างได้จากกรดไลโนเลอิก

  หน้าที่ของไขมัน
          ไขมันมีความสำคัญในด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่เป็นตัวให้กำลังงาน ไขมัน ๑ กรัม ให้กำลังงาน ๙ กิโลแคลอรี ให้กรดไขมันจำเป็นช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ ดี อี และเค   รสชาติของอาหารจะถูกปากต้องมีไขมันในขนาดพอเหมาะและช่วยทำให้อิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไขมันไว้สำหรับให้กำลังงานเมื่อมีความต้องการ

อาหารที่ให้ไขมัน

          ไขมัน นอกจากได้จากน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น มันหมู มันวัว น้ำมันพืชชนิดต่างๆ อาหารอีกหลายชนิดก็มีไขมันอยู่ด้วย  เนื้อสัตว์ต่างๆ แม้มองไม่เห็นไขมันด้วยตาเปล่าก็มีไขมันแทรกอยู่  เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และ เนื้อแกะ มีไขมันประมาณร้อยละ ๑๕ - ๓๐ เนื้อไก่มีประมาณร้อยละ  ๖ - ๑๕  สำหรับเนื้อปลาบางชนิดมีน้อยกว่าร้อยละ ๑ บางชนิดมีมากกว่าร้อยละ ๑๒ ปลาบางชนิดมีไขมันน้อยในส่วนของเนื้อแต่ไปมีมากที่ตับ สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันตับปลาได้ ในผักและผลไม้ มีไขมันน้อยกว่าร้อยละ ๑ ยกเว้นผลอะโวกาโด และโอลีฟ ซึ่งมีไขมันอยู่ถึงร้อยละ ๑๖ และ ๓๐ ตามลำดับ ในเมล็ดพืชและผลไม้เปลือกแข็งบางชนิดมีน้ำมันมาก สามารถใช้ความดันสูงบีบเอามาใช้ปรุงอาหารได้

บทบาทของกรดไลโนเลอิกต่อสุขภาพ

          ถ้าได้กรดไลโนเลอิกไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานาน จะปรากฏอาการแสดงต่อไปนี้ คือ การอักเสบของผิวหนัง เกล็ดเลือดลดต่ำลง ไขมันคั่งในตับ การเจริญเติบโตชะงักงัน เส้นผมหยาบ ติดเชื้อได้ง่าย และถ้ามีบาดแผลอยู่จะหายช้า การขาดกรดไลโนเลอิกนี้มักพบในผู้ป่วยที่กินอาหารทางปากไม่ได้ และได้สารอาหารต่างๆ ยกเว้นไขมัน ผ่านทางหลอดเลือดดำ ร่างกายต้องการกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ ๒ ของแคลอรีที่ควรได้รับ เพื่อป้องกันการขาดกรดไลโนเลอิกการศึกษาในระยะหลังได้พบว่า  ถ้ากินกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ ๑๒ ของแคลอรีที่ควรได้รับ  จะทำให้ระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในลือดลดลง การจับตัวของเกล็ดเลือดที่จะเกิดเป็นก้อนเลือดอุดตันตามหลอดเลือดต่างๆ เป็นไปได้น้อยลง และช่วยลดความดันโลหิต

   ปริมาณของกรดไลโนเลอิกในน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร

          น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ถ้ามาจากสัตว์มีกรดไลโนเลอิกน้อย น้ำมันพืชบางชนิดเท่านั้นมีกรดไลโนเลอิกมาก ในทางปฏิบัติควรเลือกกินน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกในเกณฑ์ร้อยละ ๔๖ ขึ้นไป เพราะในผู้ป่วยที่ได้รับกำลังงานวันละ  ,๐๐๐  กิโลแคลอรี จะต้องกินน้ำมันพืชประเภทที่มีไลโนเลอิกร้อยละ ๔๖ ถึงวันละ ๑๕  ช้อนชา จึงได้กำลังงานร้อยละ ๑๒ ที่มาจากกรดไลโนเลอิก ถ้าใช้น้ำมันพืชที่มีปริมาณกรดไลโนเลอิกต่ำกว่านี้จะต้องใช้ปริมาณน้ำมันมากขึ้นในการปรุงอาหารซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก

   
ความต้องการไขมัน
         
 ปริมาณไขมันที่กินแต่ละวันควรอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ  ๒๕-๓๕ ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับ และร้อยละ๑๒ ของแคลอรีทั้งหมดควรมาจากกรดไลโนเลอิก
      วิตามิน

          วิตามิน เป็นกลุ่มของสารอินทรีย์ ซึ่งร่างกายต้องการจำนวนน้อย เพื่อทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายเป็นไปตามปกติ ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินได้ หรือสร้างได้ก็ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ โดยอาศัยสมบัติการละลายตัวของวิตามิน ทำให้มีการแบ่งวิตามินเป็น ๒พวก คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ

 วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน

          วิตามินในกลุ่มนี้มี ๔ ตัว คือ เอ ดี อี  และเคการดูดซึมของวิตามินกลุ่มนี้ต้องอาศัยไขมันในอาหาร มีหน้าที่ทางชีวเคมีเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนบางชนิดในร่างกาย
          วิตามินเอ  มีชื่อทางเคมีว่า  เรทินอล (retinol) มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น  โดยเฉพาะในที่ทีมีแสงสว่างน้อย การเจริญเติบโต และสืบพันธุ์ อาหารที่ให้เรทินอลมากเป็นผลิตผลจากสัตว์ ได้แก่ น้ำนม ไข่แดง ตับน้ำมันตับปลา พืชไม่มีเรตินอล แต่มีแคโรทีน (carotene) ซึ่งเปลี่ยนเป็นเรตินอลในร่างกายได้  การกินผลไม้  ผักใบเขียว  และผักเหลืองที่ให้แคโรทีนมาก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ผักบุ้ง ตำลึง ในขนาดพอเหมาะ จึงมีประโยชน์และป้องกันการขาดวิตามินเอได้
          วิตามินดี  มีมากในน้ำมันตับปลา ในผิวหนังคนมีสารที่เรียกว่า ๗-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล ซึ่งเมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลตจะเปลี่ยนเป็นวิตามินดีได้ เมื่อวิตามินดีเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับและไต เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้  และการใช้แคลเซียมในการสร้างกระดูก การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน
          วิตามินอี มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่อต้านออกซิไดซ์สารพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ  วิตามินซีและแคโรทีน  วิตามินอีมีมากในถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกอ่อน และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย ในเด็กคลอดก่อนกำหนดการขาดวิตามินอีทำให้ซีดได้
          วิตามินเค มีหน้าที่สร้างโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด การขาดวิตามินเค ทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย วิตามินเคมีมากในตับวัวและผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี นอกจากนี้บัคเตรีในลำไส้ใหญ่ของคนสามารถสังเคราะห์วิตามินเค ซึ่งร่างกายนำไปใช้ได้

          วิตามินที่ละลายตัวในน้ำ

          วิตามินในกลุ่มนี้มีอยู่ ๙ ตัว คือ วิตามินซี บี๑ บี๒ บี๖ ไนอาซิน กรดแพนโทเทนิก (pantothenic acid) ไบโอติน (biotin) โฟลาซิน (folacin) และบี๑๒ สำหรับวิตามิน ๘ ตัวหลังมักรวมเรียกว่า วิตามินบีรวมหน้าที่ทางชีวเคมีของวิตามินที่ละลายตัวในน้ำ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้ วิตามินพวกนี้ต้องถูกเปลี่ยนแปลงจากสูตรโครงสร้างเดิมเล็กน้อยก่อนทำหน้าที่ดังกล่าวได้
          วิตามินซี  มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างสาร  ซึ่งยึดเซลล์ในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน  ที่สำคัญได้แก่  เนื้อเยื่อหลอดเลือดฝอย  กระดูก  ฟัน และพังผืด การขาดวิตามินซี  ทำให้มีอาการเลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด และอาจมีเลือดออกในที่ต่างๆของร่างกาย อาหารที่มีวิตามินซีมากคือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว และผักสดทั่วไป
          วิตามินบี๑  ทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ถ้าขาดจะเป็นโรคเหน็บชา อาหารที่มีวิตามินบี๑ มาก คือเนื้อหมูและถั่ว ส่วนข้าวที่สีแล้วมีวิตามินบี๑ น้อย
          วิตามินบี๒  มีหน้าที่ในขบวนการทำให้เกิดกำลังงานแก่ร่างกายอาหารที่มีวิตามินนี้มาก คือ ตับ หัวใจ ไข่ นม และผักใบเขียว
          วิตามินบี๖ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญโปรตีนภายในร่างกาย ถ้าได้วิตามินบี๖ ไม่พอ จะเกิดอาการชาและซีดได้ อาหารที่ให้วิตามินบี๖ ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่ว กล้วย และผักใบเขียว
          ไนอาซิน มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้เกิดกำลังงาน การหายใจของเนื้อเยื่อและการสร้างไขมันในร่างกาย การขาดไนอาซินจะทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบบริเวณที่ถูกแสงแดด ท้องเดินและประสาทเสื่อม ความจำเลอะเลือน อาหารที่มีวิตามินนี้มาก ได้แก่ เครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์ ร่างกายสามารถสร้างไนอาซินได้จากกรดอะมิโนทริปโตเฟน
          กรดแพนโทเทนิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้เกิดกำลังงาน อาหารที่ให้วิตามินตัวนี้ ได้แก่ ตับ ไต ไข่แดง และผักสด โอกาสที่คนจะขาดวิตามินตัวนี้มีน้อย
          ไบโอติน  มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาของกรดไขมันและกรดอะมิโน โอกาสที่คนจะขาดวิตามินตัวนี้มีน้อย   เพราะอาหารที่ให้วิตามินตัวนี้มีหลายชนิด เช่น  ตับ ไต ถั่ว และดอกกะหล่ำ
          โฟลาซิน  มีหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีน ถ้าขาดวิตามินตัวนี้จะเกิดอาการซีด  ชนิดเม็ดเลือดแดงโต อาหารที่ให้โฟลาซินมาก คือ ผักใบเขียวสด น้ำส้ม ตับและไต
          วิตามินบี๑๒ มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อไขกระดูก ระบบประสาท และทางเดินอาหาร มีส่วนสัมพันธ์กับหน้าที่บางอย่างของโฟลาซินด้วย การขาดวิตามินบี๑๒ จะมีอาการซีดชนิดเม็ดเลือดแดงโต และมีความผิดปกติทางระบบประสาท วิตามินบี๑๒ พบมากในอาหารจากสัตว์  เช่น  ตับ ไต น้ำปลาที่ได้มาตรฐานปลาร้า แต่ไม่พบในพืช
          จะเห็นได้ว่า วิตามินบางชนิดมีอยู่เฉพาะในพืชหรือสัตว์ บางชนิดมีทั้งในพืชและสัตว์ การกินข้าวมากโดยไม่ได้อาหารพวกเนื้อสัตว์ ถั่ว พืช ผัก ไขมัน และผลไม้ที่เพียงพอ ย่อมทำให้ขาดวิตามินได้ง่ายขึ้น เพราะข้าวที่ขัดสี แล้วมีระดับวิตามินเอ บี๑ และบี๑๒ ต่ำมาก
     เกลือแร่

          เกลือแร่ เป็นกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีการแบ่งเกลือแร่ที่คนต้องการออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดมากกว่าวันละ ๑๐๐ มิลลิกรัม ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน แมกนีเซียม และกำมะถัน
          ๒. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดวันละ ๒-๓ มิลลิกรัม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง โคบอลต์  สังกะสี แมงกานีส  ไอโอดีน  โมลิบดีนัม  ซีลีเนียม ฟลูออรีนและโครเมียม

หน้าที่ของเกลือแร่

          ร่างกายมีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ ๔ ของน้ำหนักตัว เกลือแร่แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง อย่างไรก็ตาม หน้าที่โดยทั่วไปของเกลือแร่มีอยู่ ๕ ประการ คือ
          ๑. เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ  เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีลักษณะแข็ง
          ๒. เป็นส่วนประกอบของโปรตีน  ฮอร์โมนและเอนไซม์ เช่น เหล็ก เป็นส่วนประกอบของโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า เฮโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งจำเป็นต่อการขนถ่ายออกซิเจนแก่เนื้อเยื่อต่างๆ ทองแดงเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซีน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ถ้าหากร่างกายขาดเกลือแร่เหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อการทำงานของโปรตีน ฮอร์โมน  และเอนไซม์ที่มีเกลือแร่เป็นองค์ประกอบ
          ๓. ควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย  โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และฟอสฟอรัส  ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
          ๔. ควบคุมดุลน้ำ โซเดียม  และโพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเซลล์
          ๕. เร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาหลายชนิดในร่างกายจะดำเนินไปได้ ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดกำลังงาน

  อาหารที่ให้เกลือแร่
         

          ต้นตอสำคัญของเกลือแร่ชนิดต่างๆ นั้น มีอยู่ในอาหารที่ให้โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ถั่วเมล็ดแห้งผักและผลไม้ก็ให้เกลือแร่บางชนิดด้วย เช่น โพแทสเซียม  แมกนีเซียม ส่วนโซเดียมและคลอรีนนั้นร่างกายได้จากเกลือที่ใช้ปรุงอาหาร

   น้ำ

น้ำเป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่ง  ที่คนขาดไม่ได้ร่างกายได้น้ำจากน้ำดื่ม และการเผาผลาญโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และไขมัน  ร่างกายขับถ่ายน้ำออกมากับปัสสาวะและอุจจาระ   และโดยการระเหยทางผิวหนังและทางระบบทางเดินหายใจ ร่างกายมีกลไกควบคุมรักษาดุลน้ำให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ การขาดน้ำ  เช่น ไม่มีน้ำดื่มเป็นเวลา ๒-๓ วัน หรือเกิดท้องเดินอย่างรุนแรงไม่ได้รับการรักษา  สามารถทำให้เสียชีวิตได้  ในทางตรงกันข้ามถ้าร่างกายมีน้ำมากไป  เช่น  เป็นโรคไตขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้ จะเกิดอาการบวม ซึ่งทำให้ตายได้เช่นกัน

ใยอาหาร        

 ใยอาหาร (dietary fiber) หมายถึง สารจากพืชที่คนกินแล้ว น้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้  ได้แก่  เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose)  เพกทิน  (pectin) และลิกนิน (lignin) แม้ว่าร่างกายไม่สามารถย่อยใยอาหาร  แต่การไม่กินใยอาหารมีผลร้ายต่อสุขภาพได้ การศึกษาพบว่า ใยอาหารมีบทบาทสำคัญต่อการขับถ่ายอุจจาระให้ดำเนินไปตามปกติ  ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่ และลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือด

 8.   วิชาการงานและเทคโนโลยี
โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อ น้ำพริกสารพัดนึก โดยทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกเผากากหมู ในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโนยี (คอมพิวเตอร์) ทางอาจารย์ผู้สอนได้นำเรื่อง การสร้างบล็อก มาเป็นส่วนในการบูรณาการโครงงาน ดังนี้
Blog เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนบันทึกเหตุการณ์ส่วนตัว ชื่อเต็มๆ มาจาก Weblog โดยคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger ที่จริงแล้วจะเรียกชื่ออะไรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเรามากนักเอาเป็นว่าให้พอรู้จักชื่อละกัน หากท้าวความย้อนกลับไปในอดีต คนที่จะทำเว็บไซต์ส่วนตัวจะต้องศึกษาเครื่องมือเขียนเว็บอย่าง HTML หรือหากจะให้ง่ายหน่อยก็ใช้ทูลสำเร็จรูปอย่าง Dreamweaver, Frontpage ในการสร้างเว็บขึ้นมา หลังจากสร้างเสร็จจะต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรีเพื่ออัปโหลดข้อมูลในเครื่องเราขึ้นไปเก็บอีกทีหนึ่ง จึงจะมีเว็บของตัวเองได้
สำหรับ blog ไม่เป็นเช่นนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนโค้ด หรือนั่งสร้างเว็บเอง อีกทั้งไม่จำเป็นต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรี ก็สามารถมีเว็บไว้บันทึกเหตุการณ์ส่วนตัวได้แล้ว อีกทั้งสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลัง (template) ได้ด้วย ปัจจุบัน blog กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัททั้งเล็ก ใหญ่ต่างก็ทำเว็บบล็อกบริการในบริษัท เพื่อให้พนักงานเขียนบล็อกส่วนตัวได้ 
* โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ 1.หัวข้อ (Title) 2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 3.วันที่เขียน (Date)
ตัวอย่างเว็บไซต์ ในลักษณะ Weblog


 Mblog > weblog.manager.co.th
 OpenTLE Blog > blog.opentle.org
 Kapook Blog > www.kapookclub.com
 BlogGang > www.bloggang.com 
 Exteen Blog > www.exteen.com
 MSDN Blogs > blogs.msdn.com
 Sun Blog > blogs.sun.com
 OracleAppsBlog > www.oracleappsblog.com
 Google Blog > googleblog.blogspot.com
 IBM Developer Blog > www-106.ibm.com/developerworks/blogs 
การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com
1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ www.blogger.com
2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW
3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
4. ระบุรายละเอียดของบล็อก
Blog title : ระบุชื่อบล็อก
Blog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut
.blogpot.com
World Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมา
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue

5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการ
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue
6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่ 
7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน
8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์เสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post
9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล 
10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/


11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่http://www.blogger.com/start     พิมพ์ชื่อ username / Password  เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ
12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ
สรุป ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ 
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*